• Login
    View Item 
    •   DSpace Home
    • การประชุมวิชาการ
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7
    • View Item
    •   DSpace Home
    • การประชุมวิชาการ
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7
    • View Item
    JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

    Development of Solar Tunnel Dryer combined with PV module generated electricity for blower

    Thumbnail
    View/Open
    TREC-7_O-ES03.pdf (2.992Mb)
    Date
    2557
    Author
    บงกช ประสิทธิ์
    สหัถยา ทองสาร
    Metadata
    Show full item record
    Abstract
    โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพเชิงความร้อน และอัตราการอบแห้งของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ของวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทลัยนเรศวร เครื่องอบแห้งที่ใช้ทดลองประกอบด้วยชุดตัวเก็บรังสีอาทิตย์ชนิดแผ่นเรียบซึ่งประกอบด้วยกระจกใสหนา 3 mm มีพื้นที่รับรังสีเท่ากับ 6,090 cm2 และชุดตู้อบแห้งซึ่งมีห้องอบแห้งทำจากอลูมิเนียม ด้านบนปิดด้วยแผ่นกระจกใส ภายในมีถาดอลูมิเนียม 4 ถาดสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์ มีพื้นที่ในการอบแห้งทั้งหมดเท่ากับ 5,850 cm2 และมีฮีทเตอร์ขนาด 500 W จำนวน 2 ตัว จากการทดลองเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ โดยกำหนดอัตราการไหลของอากาศคงที่เท่ากับ 0.0167 kg/s และมีความเข้มรังสีอาทิตย์เฉลี่ยอยู่ที่ 613.3 W/ m2 ชุดตัวเก็บรังสีอาทิตย์ชนิดแผ่นเรียบจะมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนอยู่ในช่วง 47.2%-58.3% (เฉลี่ย 51.85%) และอากาศไหลที่เข้าสู่บริเวณชุดตู้อบแห้งจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ย 12.45 OC โดยอุณหภูมิสูงสุด ณ ตำแหน่งกลางตู้อบแห้งเท่ากับ 51.25 OC เมื่อทำการทดลองอบกล้วยน้ำว้า 6.84 kg ความชื้นเริ่มต้นที่ 222.6 % (d.b.) เป็นเวลา 5 วัน วันละ 9 ชั่วโมง พบว่า กล้วยน้ำว้ามีความชื้นสุดท้ายเท่ากับ 31.1% (d.b.) คิดเป็นอัตราการอบแห้งเฉลี่ย 4.2% (d.b.) /hr โดยมีอัตราการอบแห้งสูงสุดเท่ากับ 11.9% (d.b.)/hr เครืองอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 7.69% ลักษณะรูปร่าง สี และรสชาติของกล้วยน้ำว้าหลังจากการอบแห้งนั้น มีลักษณะไม่ต่างจากกล้วยตากที่จำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด โดยค่าใช้จ่ายด้านพลังงานต่อหน่วยมวลของน้ำที่ถูกระเหยสำหรับการอบแห้งกล้วยน้ำว้าเท่ากับ 4.07 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อเปลี่ยนมาใช้เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าแทนระยะคืนทุนค่าใช้จ่ายพลังงานอยู่ที่ 3.8 ปี
    URI
    http://repository.rmutr.ac.th/123456789/144
    http://localhost:8080/xmlui/handle/123456789/144
    Collections
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7

    DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    Atmire NV
     

     

    Browse

    All of DSpaceCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjects

    My Account

    LoginRegister

    DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    Atmire NV