• Login
    View Item 
    •   DSpace Home
    • การประชุมวิชาการ
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7
    • View Item
    •   DSpace Home
    • การประชุมวิชาการ
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7
    • View Item
    JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

    Economic Evaluation of Applying Anodized Aluminium as Solar Absorber in Evacuated Tube Collector (ETC)

    Thumbnail
    View/Open
    TREC-7_O-CT01.pdf (553.6Kb)
    Date
    2557
    Author
    พรนิภา นุโนชา
    ธวัช สุริวงษ์
    Metadata
    Show full item record
    Abstract
    งานวิจัยนี้เป็นการประเมินด้านเศรษฐศาสตร์ของตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบท่อสุญญากาศที่ประยุกต์ใช้แผ่นอะลูมิเนียมอะโนไดซ์ที่ผ่าน กระบวนการทำอะโนไดซ์ที่มีการเติมธาตุนิกเกิลในชั้นฟิล์มอะลูมิเนียมออกไซด์ (Ni-Al2O3) หรือแผ่นอะลูมิเนียมอะโนไดซ์ มาประยุกต์ใช้เป็นตัวดูดกลืน รังสีอาทิตย์ โดยต้นแบบตัวเก็บรังสีอาทิตย์มีการเปลี่ยนตำแหน่งของตัวดูดกลืนรังสีอาทิตย์ จากปกติที่เคลือบบนผิวด้านนอกของท่อแก้วชั้นในมาเป็น ตำแหน่งของแผ่นอะลูมิเนียมเดิมที่ทำหน้าที่ในการนำความร้อนจากตัวดูดกลืนรังสีอาทิตย์ไปยังท่อนำความร้อน (Heatpipe) ผลการทดลองพบว่าแผ่น อะลูมิเนียมอะโนไดซ์มีค่าสัมประสิทธ์ิการดูดกลืนรังสีอาทิตย์ () เท่ากับ 0.94 และต้นแบบตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบท่อสุญญากาศที่ประยุกต์ใช้ อะลูมิเนียมอะโนไดซ์เป็นตัวดูดกลืนรังสีอาทิตย์มีประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงสุด () มีค่าเท่ากับ 0.72 ผลการประเมินทางด้านเศรษฐศาสตร์โดย กำหนดให้อายุการใช้งานของตัวเก็บรังสีอาทิตย์เท่ากับ 16 ปี สำหรับต้นทุนตลอดวัฏจักรชีวิต (LCC) พบว่าเงินลงทุนเริ่มต้นมีค่า 22,794 บาท ต้นทุน ในการดำเนินงานมีค่า 1,055บาท มูลค่าซากปีสุดท้ายมีค่า 856บาททำให้ค่าต้นทุนตลอดวัฏจักรชีวิตเท่ากับ 22,993บาท และสำหรับต้นทุนพลังงาน (LCOE) พบว่าค่าพลังงานรายปีมีค่า 1,207 kW*h เมื่อคำนวณต้นทุนพลังงานตลอดวัฏจักรชีวิตมีค่าเท่ากับ 1.23 บาท/kW*h สรุปได้ว่าการประยุกต์ใช้ แผ่นอะลูมิเนียมอะโนไดซ์เป็นตัวดูดกลืนรังสีอาทิตย์ร่วมกับการนำความร้อนในตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบท่อสุญญากาศนั้นมีความเป็นไปได้ในทางเทคนิค และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สำหรับนำมาใช้ในระบบการผลิตน้ำร้อน
    URI
    http://repository.rmutr.ac.th/123456789/84
    http://localhost:8080/xmlui/handle/123456789/84
    Collections
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7

    DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    Atmire NV
     

     

    Browse

    All of DSpaceCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjects

    My Account

    LoginRegister

    DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    Atmire NV