• Login
    View Item 
    •   DSpace Home
    • การประชุมวิชาการ
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7
    • View Item
    •   DSpace Home
    • การประชุมวิชาการ
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7
    • View Item
    JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

    ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมจากการลงทุนระบบก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกร กรณีศึกษา: ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

    Thumbnail
    View/Open
    TREC-7_O-EM07.pdf (691.5Kb)
    Date
    2557
    Author
    อภิชาติ คงแป้น
    Metadata
    Show full item record
    Abstract
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจและสังคมในการลงทุนระบบก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกรที่ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี โดยประยุกต์แนวคิด เรื่อง การประเมินผลแบบ Goal-attainment model การวิเคราะห์ประสิทธิภาพรายจ่ายสาธารณะและผลกระทบภายนอก เพื่อประเมินว่าการลงทุนนั้นคุ้มค่าหรือไม่ โดยมีการวิเคราะห์ผลตอบแทน และค่าใช้จ่ายทั้งทางตรง และทางอ้อมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ผลจากการวิจัยสรุปได้ว่า โครงการนี้คุ้มค่าต่อการลงทุน โดยมีผลตอบแทนจากการลงทุนรวม 333,264 บาทในปีแรก ปีที่สองเป็นต้นไป 259,564 บาทต่อปี เรียงลำดับผลตอบแทนจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ด้านเกษตรกรรม คือ ผลผลิตต่อไร่ที่สูงขึ้นจากการใช้ปุ๋ยชีวภาพ รายได้จากการขายปุ๋ยชีวภาพ และลดการซื้อปุ๋ยเคมี2) ด้านพลังงาน คือ ลดการซื้อก๊าซหุงต้ม และลดน้ำมันดีเซลเพื่อผลิตไฟฟ้า 3) ด้านแรงงาน คือ การเพิ่มการจ้างงานภายในชุมชน 4) ด้านสิ่งแวดล้อม คือ การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ในขณะที่ค่าใช้จ่ายงบการลงทุนรวม 416,400 บาท ได้แก่ 1) งบก่อสร้าง คือ บ่อหมักก๊าซ ท่อส่งก๊าซ เตาก๊าซ และสถานีเพิ่มแรงดันก๊าซ และ 2) งบดำเนินการรวม 31,200 บาทต่อปี ได้แก่ ค่าบำรุงรักษา และค่าบริหารจัดการ เช่น ค่ากระสอบปุ๋ย ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น เมื่อคิดอายุโครงการ 5 ปีสรุปการวิเคราะห์ประสิทธิภาพรายจ่าย หากคิดผลตอบแทนรวมทางตรงและทางอ้อมโครงการนี้จะคุ้มค่าต่อการลงทุน ที่ให้อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 2.48 บาท อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ 32.61% ระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 1 ปี10 เดือน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 1,067,030 บาท และค่าใช้จ่ายต่อประสิทธิผล (C/E ratio) 19,553 บาทต่อ 1 tonCO2eq โดยผลลัพธ์จากงานวิจัยนี้จะเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนของภาครัฐหรืองานกิจการเพื่อสังคมต่อไป
    URI
    http://repository.rmutr.ac.th/123456789/177
    Collections
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7 [118]

    DSpace software copyright © 2002-2015  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    @mire NV
     

     

    Browse

    All of DSpaceCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjects

    My Account

    LoginRegister

    DSpace software copyright © 2002-2015  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    @mire NV