• Login
    View Item 
    •   DSpace Home
    • การประชุมวิชาการ
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7
    • View Item
    •   DSpace Home
    • การประชุมวิชาการ
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7
    • View Item
    JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

    Collaborative Research of Sustainable Alternative Energy for Home Land Security of Village along Thai-Myanma Border Follow His Majestic The King’s Initiative,Mae Hong Son Province

    Thumbnail
    View/Open
    TREC-7_O-EM04.pdf (1.003Mb)
    Date
    2557
    Author
    เสริมสุข บัวเจริญ
    บุญยืน อินกว่าง
    วรเทพ บุญญะ
    จุฑาทิพย์ เฉลิมพล
    Metadata
    Show full item record
    Abstract
    การวิจัยการนี้มีจุดประสงค์เพื่อที่จะ พัฒนาพลังงานทดแทนอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืนตามโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ชายแดนตามแนวทางพระราชทาน จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีกระบวนการวิจัยขั้นตอน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1. ศึกษาความต้องการ และปัญหาในการใช้พลังงานของชุมชน ขั้นตอนที่ 2. พัฒนาประสิทธิภาพของเทคโนโลยีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานธรรมชาติ ที่ทนทานและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ขั้นตอนที่ 3. ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของระบบพลังงานทดแทนที่นำไปติดตั้งเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจของหน่วยงาน อปท. ในการลงทุนและขยายผลไปสู่พื้นที่อื่น ขั้นตอนที่ 4.ศึกษารูปแบบกลไกความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานทหาร และหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่กับชุมชนเป้าหมาย ในการร่วมมือเพื่อพัฒนาและเรียนรู้ระบบพลังงานทดแทน การติดตั้งพลังงานทดแทน และการบำรุงรักษา ขั้นตอนที่ 5.สร้างการเรียนรู้ของชุมชนในการใช้พลังงานทดแทนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และประเมินความเข้าใจและความพึงพอใจของชุมชน ผลจากการวิจัยพบว่า หมู่บ้าน พมพ.ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ชายแดนมีความต้องการพลังงานทดแทนที่นำไปใช้ผลิตไฟฟ้าแสงสว่างเพื่อความปลอดภัย และต้องการ การเรียนรู้และปฏิบัติการบำรุงรักษาเพื่อ “เพื่อรู้ รักษา”ด้วยชุมชนเอง และพบว่าการพัฒนาประสิทธิภาพของเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่เหมาะกับพื้นที่ ร่วมกับหน่วยงานอปท. และชุมชนอย่างมีส่วนร่วมรับรู้ไปพร้อมกันกับหน่วยทหารในพื้นที่ๆรับผิดชอบความมั่นคงตามแนวชายแดน จะช่วยทำให้เกิดกลไกในการพัฒนาพลังงานทดแทน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เกิดความพึงพอใจของชุมชน เกิดความมั่นคงของหมู่บ้าน พมพ. พื้นที่ชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 30 หมู่บ้าน
    URI
    http://repository.rmutr.ac.th/123456789/174
    Collections
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7 [118]

    DSpace software copyright © 2002-2015  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    @mire NV
     

     

    Browse

    All of DSpaceCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjects

    My Account

    LoginRegister

    DSpace software copyright © 2002-2015  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    @mire NV