• Login
    View Item 
    •   DSpace Home
    • การประชุมวิชาการ
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7
    • View Item
    •   DSpace Home
    • การประชุมวิชาการ
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7
    • View Item
    JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

    The survey of Pasang farmers’ attitudes for being a guide line of Sunflower Valley development as energy learning center and agro-tourism

    Thumbnail
    View/Open
    TREC-7_P-EM19.pdf (422.9Kb)
    Date
    2557
    Author
    วรวิทย์ บุรณศิริ
    วัฒนพงษ์ รักษ์วิเชียร
    Metadata
    Show full item record
    Abstract
    การวิจัยนี้เป็นการศึกษา ความพึงพอใจ ทัศนคติ ความคิดเห็นและความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกทานตะวัน ตำบลป่าซาง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเป็นแนวทางพัฒนาม่อนทานตะวันให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานและการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยใช้วิธีวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) และระเบียบวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเกษตรกร ตำบลป่าซางจำนวน 100 คนด้วยแบบสอบถามโดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามกรอกข้อมูลด้วยตนเองและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) วิธีอภิปรายกลุ่ม (Focus group discussion) เกษตรกรที่มีพื้นที่บนม่อนทานตะวันจำนวน 12 คน ร่วมในการวิจัยในครั้งนี้ด้วย ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกทานตะวันมีความพึงพอใจเกี่ยวกับปัจจัยในด้าน 1) การปลูกดอกทานตะวันสามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัวของท่าน 2) การปลูกดอกทานตะวันเป็นการสร้างอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรในพื้นที่ 3) การปลูกดอกทานตะวันเป็นการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ตำบลป่าซาง 4) ความเหมาะสมของสถานที่ปลูกทานตะวัน 5) ความเหมาะสมของจำนวนพื้นที่ปลูกทานตะวัน 6) ความเหมาะสมของปัจจัยในการปลูกทานตะวัน ได้แก่ แหล่งน้ำ ปุ๋ย เมล็ดพันธ์7) ความพึงพอใจจากรายได้ที่ได้รับ 8) ต้องการให้มีโครงการลักษณะนี้ต่อไป มีคะแนนทุกด้านอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (4 - 5 คะแนน) และผลการวิเคราะห์เชิงบรรยายจากการทำอภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับปัจจัย 1) การใช้ประโยชน์พื้นที่ 2) การจัดการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ห้องน้ำ ร้านค้า 3) การจัดภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรม 4) การวางแผนธุรกิจ 5) การมีส่วนร่วมกับชุมชน สามารถนำข้อมูลทั้งสองส่วนมาสร้างเป็นแนวความคิดการพัฒนาม่อนทานตะวันเป็นแหล่ง เรียนรู้ด้านพลังงานและการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
    URI
    http://repository.rmutr.ac.th/123456789/189
    http://localhost:8080/xmlui/handle/123456789/189
    Collections
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7

    DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    Atmire NV
     

     

    Browse

    All of DSpaceCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjects

    My Account

    LoginRegister

    DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    Atmire NV