Show simple item record

dc.contributor.authorกิตติพงษ์ ศรีพนากุลen_US
dc.contributor.authorอนิรุตต์ มัทธุจักร์en_US
dc.contributor.authorชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์en_US
dc.contributor.authorอำไพศักดิ์ ทีบุญมาen_US
dc.contributor.authorธนรัฐ ศรีวีระกุลen_US
dc.contributor.authorทรงสุภา พุ่มชุมพลen_US
dc.contributor.authorร.ท.สมญา ภูนะยาen_US
dc.contributor.authorบงกช บุญเพชรen_US
dc.date.accessioned2016-07-07T03:55:32Z
dc.date.available2016-07-07T03:55:32Z
dc.date.issued2014
dc.identifier.urihttp://repository.rmutr.ac.th/123456789/109
dc.identifier.urihttp://localhost:8080/xmlui/handle/123456789/109
dc.description.abstractบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความเหมาะสมของระบบไฟส่องสว่างถนนพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับ พื้นที่ห่างไกล โดยในการออกแบบระบบฯ จะใช้โปรแกรม DIALux version 4.10 ทำการจำลองค่าความสว่างบนผิวถนนเพื่อคัดเลือกโคมไฟส่องสว่าง ถนน และใช้วิธีสมดุลพลังงานคำนวณหาขนาดของแผงโซลาร์เซลล์ จากการออกแบบจะได้ระบบฯ 4 ระบบ ได้แก่ 1) ระบบที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Crystalline silicon ร่วมกับโคม LED (CL) 2) ระบบที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Thin film ร่วมกับโคม LED (TL) 3) ระบบที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Crystalline silicon ร่วมกับโคมฟลูออเรสเซนต์ (CF) และ 4) ระบบที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Thin film ร่วมกับโคมฟลูออเรสเซนต์ (TF) โดยทำการ ติดตั้งทั้ง 4 ระบบ ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งมีพื้นที่ติดตั้งทั้งหมด 5 พื้นที่ทั่วทั้งเกาะเต่ารวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 20 ชุดทดลอง ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัด ของแต่ละชุดทดลองจะถูกเก็บไว้ในระบบเก็บข้อมูลของแต่ละชุด หลังจากนั้นข้อมูลเหล่านั้นจะถูกส่งผ่านระบบสื่อสารไร้สาย Zigbee ที่มีการเชื่อมต่อ กับระบบเครือข่ายโทรศัพท์ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาเก็บไว้ใน Computer server ส่วนกลาง ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลการทำงานต่างๆ ของทุกชุด ทดลองได้บน Website จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลการทำงานของระบบฯ พบว่า ระบบฯ ที่เหมาะสมทางด้านวิศวกรรมคือระบบ CL ส่วนระบบที่มี ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์คือระบบ TF ดังนั้นในการคัดเลือกระบบฯ ที่เหมาะสมที่จะนำไปติดตั้งที่เกาะเต่าจึงจัดทำเกณฑ์การคัดเลือกขึ้น ซึ่งเกณฑ์จะมีเนื้อหาครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ทางวิศวกรรมและเศรษฐศาสตร์รวมถึงความพึงพอใจของคนในพื้นที่ ผลที่ได้จากเกณฑ์การคัดเลือก พบว่า ระบบฯ ที่เหมาะสมสำหรับเกาะเต่าคือ ระบบที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Crystalline silicon ร่วมกับโคม LED เนื่องจากเป็นระบบฯ ที่ได้ คะแนนจากเกณฑ์การคัดเลือกสูงที่สุดen_US
dc.language.isoTHen_US
dc.publisherภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีen_US
dc.subjectไฟส่องสว่างถนนพลังงานแสงอาทิตย์en_US
dc.subjectเกาะเต่าen_US
dc.subjectระบบสื่อสารไร้สาย Zigbeeen_US
dc.subjectเกณฑ์การคัดเลือกen_US
dc.titleAnalysis and Comparison on Suitability of Solar Street Lighting system on remote areaen_US
dc.title.alternativeการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความเหมาะสมของระบบไฟส่องสว่างถนนพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับพื้นที่ห่างไกลen_US
dc.typeResearchen_US


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record