• Login
    View Item 
    •   DSpace Home
    • การประชุมวิชาการ
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7
    • View Item
    •   DSpace Home
    • การประชุมวิชาการ
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7
    • View Item
    JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

    Analysis and Comparison on Suitability of Solar Street Lighting system on remote area

    Thumbnail
    View/Open
    TREC7_O-CP10 (745.5Kb)
    Date
    2014
    Author
    กิตติพงษ์ ศรีพนากุล
    อนิรุตต์ มัทธุจักร์
    ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์
    อำไพศักดิ์ ทีบุญมา
    ธนรัฐ ศรีวีระกุล
    ทรงสุภา พุ่มชุมพล
    ร.ท.สมญา ภูนะยา
    บงกช บุญเพชร
    Metadata
    Show full item record
    Abstract
    บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความเหมาะสมของระบบไฟส่องสว่างถนนพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับ พื้นที่ห่างไกล โดยในการออกแบบระบบฯ จะใช้โปรแกรม DIALux version 4.10 ทำการจำลองค่าความสว่างบนผิวถนนเพื่อคัดเลือกโคมไฟส่องสว่าง ถนน และใช้วิธีสมดุลพลังงานคำนวณหาขนาดของแผงโซลาร์เซลล์ จากการออกแบบจะได้ระบบฯ 4 ระบบ ได้แก่ 1) ระบบที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Crystalline silicon ร่วมกับโคม LED (CL) 2) ระบบที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Thin film ร่วมกับโคม LED (TL) 3) ระบบที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Crystalline silicon ร่วมกับโคมฟลูออเรสเซนต์ (CF) และ 4) ระบบที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Thin film ร่วมกับโคมฟลูออเรสเซนต์ (TF) โดยทำการ ติดตั้งทั้ง 4 ระบบ ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งมีพื้นที่ติดตั้งทั้งหมด 5 พื้นที่ทั่วทั้งเกาะเต่ารวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 20 ชุดทดลอง ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัด ของแต่ละชุดทดลองจะถูกเก็บไว้ในระบบเก็บข้อมูลของแต่ละชุด หลังจากนั้นข้อมูลเหล่านั้นจะถูกส่งผ่านระบบสื่อสารไร้สาย Zigbee ที่มีการเชื่อมต่อ กับระบบเครือข่ายโทรศัพท์ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาเก็บไว้ใน Computer server ส่วนกลาง ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลการทำงานต่างๆ ของทุกชุด ทดลองได้บน Website จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลการทำงานของระบบฯ พบว่า ระบบฯ ที่เหมาะสมทางด้านวิศวกรรมคือระบบ CL ส่วนระบบที่มี ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์คือระบบ TF ดังนั้นในการคัดเลือกระบบฯ ที่เหมาะสมที่จะนำไปติดตั้งที่เกาะเต่าจึงจัดทำเกณฑ์การคัดเลือกขึ้น ซึ่งเกณฑ์จะมีเนื้อหาครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ทางวิศวกรรมและเศรษฐศาสตร์รวมถึงความพึงพอใจของคนในพื้นที่ ผลที่ได้จากเกณฑ์การคัดเลือก พบว่า ระบบฯ ที่เหมาะสมสำหรับเกาะเต่าคือ ระบบที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Crystalline silicon ร่วมกับโคม LED เนื่องจากเป็นระบบฯ ที่ได้ คะแนนจากเกณฑ์การคัดเลือกสูงที่สุด
    URI
    http://repository.rmutr.ac.th/123456789/109
    http://localhost:8080/xmlui/handle/123456789/109
    Collections
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7

    DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    Atmire NV
     

     

    Browse

    All of DSpaceCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjects

    My Account

    LoginRegister

    DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    Atmire NV