Show simple item record

dc.contributor.authorชำนิ ใจประดิษฐ์ธรรมen_US
dc.contributor.authorอธิวัฒน์ นาคสุริยวงษ์en_US
dc.date.accessioned2016-07-06T03:59:35Z
dc.date.available2016-07-06T03:59:35Z
dc.date.issued2014
dc.identifier.urihttp://repository.rmutr.ac.th/123456789/90
dc.identifier.urihttp://localhost:8080/xmlui/handle/123456789/90
dc.description.abstractบทความนี้นำเสนอถึงการศึกษาและการประเมินศักยภาพความเป็นไปได้ในการเพิ่มความสามารถในการผลิตไฟฟ้าภายในชุมชน โดยการใช้ พลังงานทดแทนก๊าซชีวภาพที่ได้จากเศษวัชพืชอินทรีย์สารทางการเกษตรและมูลสัตว์ของพื้นที่ชุมชนในกรณีศึกษา ชุมชนหมู่บ้านโนนข่า ต.หันนางาม อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู นำมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพด้วยเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพแบบ Dry Fermentation โดยการนำก๊าซชีวภาพที่ได้ผ่านเข้าเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับชุมชนต่อไป ผลผลิตทางการเกษตรรวมถึงผลผลิตที่เหลือใช้ทางการเกษตรจะมีศักยภาพสูงสามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนได้ ซึ่งประชากรในชุมชนหมู่บ้านโนนข่า ต.หันนางาม ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าวทำนาข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น และมีการเลี้ยงปศุสัตว์ ผลจากการศึกษาจึงพบว่าการพัฒนาการใช้พลังงานก๊าซชีวภาพจากเศษวัชพืชทางการเกษตรและมูลสัตว์สามารถสร้างเตาชีวมวลอย่างง่าย ระยะเวลาในการจุดเตาและอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของเตาชีวมวลมีค่าน้อยกว่าเตาแบบธรรมดา ทำให้เตาชีวมวลมีประสิทธิภาพสูงจึงสามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติได้ สามารถออกแบบและสร้างถังหมักก๊าซชีวภาพ ซึ่งถังหมักเก็บก๊าซใช้งานได้จริง นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ด้านการเงินและการลงทุน ศึกษาผลกระทบทางด้านเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนที่มีเกณฑ์ในการตัดสินใจลงทุนคืออัตราผลตอบแทน ค่าใช้จ่ายในการลงทุน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ผลการวิเคราะห์พบว่าเศษวัชพืชอินทรีย์สารทางการเกษตรและมูลสัตว์ที่มีในชุมชนมีศักยภาพมากพอที่จะนำมาผลิตไฟฟ้า โดยใช้เทคโนโลยีเตาเผาสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 75 kWh/ตัน รองลงมาได้แก่ เทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนและแบบหลุมฝังกลบเศษวัชพืชและมูลสัตว์ประมาณ 25 kWh/ตัน และ 18 kWh/ตัน ตามลำดับ พิจารณาต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจะพบว่าเทคโนโลยีการผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบหลุมฝังกลบมีต้นทุนต่ำที่สุดคือ 5.50 บาท/ kWh ในขณะที่เทคโนโลยีเตาเผาและแบบย่อยสลายไม่ใช้ออกซิเจนจะมีต้นทุนสูงกว่าคือ 28.50 บาท/ kWh และ 14.32 บาท/ kWh ตามลำดับen_US
dc.language.isoTHen_US
dc.publisherสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตen_US
dc.subjectการผลิตไฟฟ้าชุมชนen_US
dc.subjectเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพen_US
dc.subjectเศษวัชพืชทางการเกษตรen_US
dc.subjectเศรษฐศาสตร์en_US
dc.subjectพลังงานทดแทนen_US
dc.titleAn assessment of Economics Potential for Community Electricity Production Using Biogas Renewable Energy from Agricultural Wastes and Livestock Manure Case Study: Community Ban Non-Kaen_US
dc.title.alternativeการประเมินศักยภาพทางด้านเศรษฐศาสตร์ของการผลิตไฟฟ้าชุมชนด้วยการใช้พลังงานทดแทนก๊าซชีวภาพ จากเศษวัชพืชทางการเกษตรและมูลสัตว์กรณีศึกษา ชุมชุนหมู่บ้านโนนข่าen_US
dc.typeResearchen_US


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record