Show simple item record

dc.contributor.authorดนัย วินัยรัตน์en_US
dc.date.accessioned2018-06-01T03:22:33Z
dc.date.available2018-06-01T03:22:33Z
dc.date.issued2017
dc.identifier.urihttp://repository.rmutr.ac.th/123456789/810
dc.identifier.urihttp://localhost:8080/xmlui/handle/123456789/810
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสารวจและประเมินศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยว พัฒนาและกำหนดรูปแบบ และประเมินผลรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้วิธีการ วิจัยเชิงคุณภาพ ร่วมกับวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการ 3 ขั้นตอนคือ ขั้นการสำรวจ เป็นการวิจัยเชิงสารวจ (Survey Research) ได้แก่ สภาพทั่วไปของพื้นที่ศึกษา และเลือกชุมชนนำร่อง เพื่อบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตลาดเก่าปราณบุรี ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการพัฒนา เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยทำการค้นหากิจกรรม การกำหนด เส้นทาง การท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานภูมิปัญญา ท้องถิ่นและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตลาดเก่าปราณบุรี ขั้นตอนที่ 3 ขั้นประเมินผลและสรุปผล เป็นการวิเคราะห์และ กำหนดรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตลาดเก่า ปราณบุรี และการวิจัยเชิงประเมินผล (Evaluation Research) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพและความเหมาะสมของรูปแบบ จากนั้นประเมินความพึงพอใจของสมาชิกแกนนาชุมชนต่อรูปแบบ แล้วสรุปผลการศึกษารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยว โดยชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตลาดเก่าปราณบุรี ผลการวิจัย พบว่า ทรัพยากร การท่องเที่ยวโดยชุมชนตลาดเก่าปราณบุรี มีศักยภาพเพียงพอ สามารถรองรับ การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจาก มีความหลากหลาย และเหมาะสมกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ มีกิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่น่าสนใจ เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทั้งภายในชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยง สามารถนำมาสร้างรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี องค์ประกอบสำคัญ 9 ประการ คือ แหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพของชุมชน แหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยง การเลือกกิจกรรม ที่หลากหลาย ผู้รู้สำหรับการนำเที่ยวและให้ความรู้ในแต่ละแหล่ง การประสานงานที่ดีระหว่างสมาชิกกลุ่ม ความรู้และ ประสบการณ์จากการฝึกอบรม เครือข่ายการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง กลุ่มอนุรักษ์ตลาดเก่าปราณบุรี และฐาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และจากการวิเคราะห์และกำหนดรูปแบบ การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตลาดเก่าปราณบุรี พบว่า รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวที่ได้ มีความยืดหยุ่นสูงแต่ยังขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และรูปแบบดังกล่าวมีความเฉพาะตัวค่อนข้างสูงแต่สามารถ สะท้อนความพอเพียงที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นค่อนข้างน้อย โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิ ปัญญาท้องถิ่น และผู้เชี่ยวชาญด้านแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 3 ท่าน เห็นชอบกับรูปแบบในระดับ มาก (xˉ = 3.78) และแกนนำชุมชนตลาดเก่าปราณบุรี ซึ่งเป็นตัวแทนจากกลุ่มอนุรักษ์ตลาดเก่าปราณบุรีและผู้นาชุมชนจำนวน 20 คน มีผลการประเมินความพึงพอใจ ในระดับ มาก เช่นกัน (x ˉ = 4.12)en_US
dc.language.isoTHen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวโดยชุมชนen_US
dc.subjectภูมิปัญญาท้องถิ่นen_US
dc.subjectปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงen_US
dc.subjectตลาดเก่าปราณบุรีen_US
dc.titleCommunity-based Tourism Management Modelbased on Local Wisdom and Sufficiency Economicen_US
dc.title.alternativeรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงen_US
dc.typeResearchen_US


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record