Sustainable Agrotourism Management Model based on Sufficiency Economic and Local Way of Life in The Pranburi River Basin
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจและประเมินศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยว ค้นหากิจกรรมและสร้างเส้นทาง
การท่องเที่ยว และวิเคราะห์และกำหนดรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน บนฐานปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงและวิถีชุมชนลุ่มแม่น้ำปราณบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ร่วมกับวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีการดำเนินงานวิจัย
3 ขั้นตอนคือ ขั้นการสำรวจ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ได้แก่ สภาพทั่วไปของพื้นที่ศึกษา และเลือกชุมชน
นำร่อง เพื่อบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีชุมชนลุ่มแม่น้ำปราณบุรี
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการพัฒนา เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยทำการค้นหากิจกรรม การกำหนด
เส้นทาง และการออกแบบระบบสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีชุมชน
ลุ่มแม่น้ำปราณบุรี ขั้นตอนที่ 3 ขั้นประเมินผลและสรุปผล เป็นการวิเคราะห์ และกำหนดรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยว
เชิงเกษตร และการวิจัยเชิงประเมินผล (Evaluation Research) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพและความเหมาะสมของรูปแบบ
จากนั้นประเมินความพึงพอใจของสมาชิกแกนนาชุมชนต่อรูปแบบ แล้วสรุปผลการศึกษารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยว
เชิงเกษตรอย่างยั่งยืนบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีชุมชนลุ่มแม่น้ำปราณบุรี
ผลการวิจัยพบว่า ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปราณบุรีมีศักยภาพเพียงพอ สามารถรองรับ
การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีชุมชนลุ่มแม่น้ำปราณบุรีได้ เนื่องจาก
มีความหลากหลาย และเหมาะสมกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และมีกิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่น่าสนใจ
สามารถนำมาสร้างรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีชุมชนลุ่มแม่น้ำ
ปราณบุรี โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่หลากหลาย ความพร้อมของชุมชน
ในการรองรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน การมีวิถีวัฒนธรรม
ที่น่าสนใจของชุมชน และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและองค์กรท้องถิ่น และจากการเพื่อวิเคราะห์และกำหนดรูปแบบ
การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน บนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีชุมชนลุ่มแม่น้ำปราณบุรี พบว่า
รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ได้มีความยืดหยุ่นสูงแต่ยังขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ แต่รูปแบบ
ดังกล่าวสามารถนาไปใช้กับชุมชนอื่นๆ ได้ รวมทั้งเมื่อทำการประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการท่องเที่ยว
เชิงเกษตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม และผู้เชี่ยวชาญด้านแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน
3 ท่าน เห็นชอบกับรูปแบบในระดับมาก (xˉ = 4.11) และแกนนำชุมชนในลุ่มแม่น้ำปราณบุรี ซึ่งเป็นตัวแทนจาก 10 ตำบล
ตำบลละ 10 คน รวม 100 คน มีผลการประเมินความพึงพอใจ ในระดับมาก เช่นกัน (xˉ = 4.17)