Show simple item record

dc.contributor.authorSurapee Wannaboonen_US
dc.contributor.authorSriwattana Chakkranupongen_US
dc.contributor.authorWanlaya Pornpiroonen_US
dc.contributor.authorJarunate Kuapaken_US
dc.date.accessioned2016-12-26T03:42:31Z
dc.date.available2016-12-26T03:42:31Z
dc.date.issued2014
dc.identifier.urihttp://repository.rmutr.ac.th/123456789/366
dc.identifier.urihttp://localhost:8080/xmlui/handle/123456789/366
dc.description.abstractวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จำนวน 297 คน แบ่งเป็นข้าราชการที่ปฏิบัติงานสายสนับสนุน จำนวน 39 คน และข้าราชการที่ปฏิบัติงานสายวิชาการ จำนวน 258 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามโดยขอความอนุเคราะห์ทำแบบสอบถามไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยทั้ง 4 พื้นที่ คือ พื้นที่ศาลายา พื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ พื้นที่เพาะช่าง และวิทยาเขตวังไกลกังวล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาregresstion ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มเป้าหมายที่มี เพศ และ ตำแหน่ง ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ พื้นที่ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงานในมหาวิทยาลัย ประเภทการดำรงตำแหน่ง ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ปัญหาและอุปสรรคส่วนใหญ่เกิดความไม่รู้และไม่เข้าใจของบุคคลที่เกี่ยวข้องในการประเมิน และค่างานที่นำมาใช้ในการประเมินไม่ชัดเจน ทำให้เกณฑ์ที่นำมาใช้ประเมินไม่สอดคล้องกับตำแหน่งและงานที่รับผิดชอบอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งรูปแบบของฟอร์มแบบประเมินที่ซับซ้อนยุ่งยาก และกลุ่มเป้าหมายมีความคิดเห็นว่าการประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อน ทำให้มีภาระงานเพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร 3. แนวทางการพัฒนาคือควรปรับปรุงเอกสารการประเมินให้เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน อธิบายตัวชี้วัดแต่ละตัวให้ชัดเจน ควรจัดอบรมและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้แบบประเมินให้ครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มen_US
dc.description.sponsorshipRajamangala University Of Technology Rattanakosinen_US
dc.language.isoTHen_US
dc.publisherRajamangala University Of Technology Rattanakosinen_US
dc.subjectปัจจัยen_US
dc.subjectการประเมินผลการปฏิบัติงานen_US
dc.subjectข้าราชการen_US
dc.titleFactors Affected to the Success in Performance Appraisal of Rajamangala University of Technology Rattanakosin (RMUTR)’s Government Officersen_US
dc.title.alternativeปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์en_US
dc.typeResearchen_US


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record