• Login
    View Item 
    •   DSpace Home
    • หน่วยงาน
    • สำนักงานอธิการบดี
    • งานวิจัย (Research)
    • View Item
    •   DSpace Home
    • หน่วยงาน
    • สำนักงานอธิการบดี
    • งานวิจัย (Research)
    • View Item
    JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

    Factors Affected to the Success in Performance Appraisal of Rajamangala University of Technology Rattanakosin (RMUTR)’s Government Officers

    Thumbnail
    View/Open
    Fulltext (3.911Mb)
    Date
    2014
    Author
    Surapee Wannaboon
    Sriwattana Chakkranupong
    Wanlaya Pornpiroon
    Jarunate Kuapak
    Metadata
    Show full item record
    Abstract
    วิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จำนวน 297 คน แบ่งเป็นข้าราชการที่ปฏิบัติงานสายสนับสนุน จำนวน 39 คน และข้าราชการที่ปฏิบัติงานสายวิชาการ จำนวน 258 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามโดยขอความอนุเคราะห์ทำแบบสอบถามไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยทั้ง 4 พื้นที่ คือ พื้นที่ศาลายา พื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ พื้นที่เพาะช่าง และวิทยาเขตวังไกลกังวล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาregresstion ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มเป้าหมายที่มี เพศ และ ตำแหน่ง ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ พื้นที่ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงานในมหาวิทยาลัย ประเภทการดำรงตำแหน่ง ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ปัญหาและอุปสรรคส่วนใหญ่เกิดความไม่รู้และไม่เข้าใจของบุคคลที่เกี่ยวข้องในการประเมิน และค่างานที่นำมาใช้ในการประเมินไม่ชัดเจน ทำให้เกณฑ์ที่นำมาใช้ประเมินไม่สอดคล้องกับตำแหน่งและงานที่รับผิดชอบอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งรูปแบบของฟอร์มแบบประเมินที่ซับซ้อนยุ่งยาก และกลุ่มเป้าหมายมีความคิดเห็นว่าการประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อน ทำให้มีภาระงานเพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร 3. แนวทางการพัฒนาคือควรปรับปรุงเอกสารการประเมินให้เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน อธิบายตัวชี้วัดแต่ละตัวให้ชัดเจน ควรจัดอบรมและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้แบบประเมินให้ครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม
    URI
    http://repository.rmutr.ac.th/123456789/366
    http://localhost:8080/xmlui/handle/123456789/366
    Collections
    • งานวิจัย (Research)

    DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    Atmire NV
     

     

    Browse

    All of DSpaceCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjects

    My Account

    LoginRegister

    DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    Atmire NV