• Login
    View Item 
    •   DSpace Home
    • การประชุมวิชาการ
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7
    • View Item
    •   DSpace Home
    • การประชุมวิชาการ
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7
    • View Item
    JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

    CONSTRUCTION FOR GREEN BUILDING

    Thumbnail
    View/Open
    TREC7_EN02 (404.6Kb)
    Date
    2014
    Author
    จักรพงศ์ ไชยานุพัทธกุล
    ศรันยู พรมศร
    Metadata
    Show full item record
    Abstract
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการก่อสร้างอาคารเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษากระบวนการการรักษา สภาพแวดล้อม ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มทำการก่อสร้าง ที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันในประเทศไทยว่ามีกระบวนการหรือขั้นตอนอย่างไร รวมถึงศึกษาปัญหาและ สาเหตุของปัญหาเพื่อหาแนวทางนำเสนอในการแก้ไขและปรับปรุงให้เหมาะสมสำหรับนำไปใช้งานในภาคปฏิบัติทั้งโครงการหน่วยงานของราชการและ โครงการของหน่วยงานอื่นๆการศึกษาทำโดยรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการก่อสร้างทั้งในส่วนของเจ้าของงานผู้บริหาร ผู้ ควบคุมงานก่อสร้างผู้รับเหมางานก่อสร้างผู้ที่เกี่ยวข้องและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเอกสารที่เกี่ยวข้องรวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างและปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อมี การเข้าใช้งานอาคารโดยเก็บข้อมูลจากโครงการที่อยู่ในช่วงเวลาการก่อสร้างและโครงการที่ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จโดยสมบูรณ์แล้ว โดยทำการส่ง แบบสอบถามไปยังหน่วยงานของรัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆหน่วยงานละ30 ตัวอย่าง ได้กลับคืนมาหน่วยงานละ 15 ตัวอย่าง โดยวิธีของไคสแควร์ในการหา ความแตกต่างที่เกิดขึ้นระหว่างโครงการหน่วยงานของรัฐบาลกับโครงการหน่วยงานอื่นๆจากการศึกษาพบว่าประเด็นที่แตกต่างกันระหว่างหน่วยงาน รัฐบาลกับหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ปัญหาที่เกิดจากการที่ขาดผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการก่อสร้างอาคารเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการทำงานจริงไม่ สอดคล้องในช่วงเวลาการก่อสร้าง โดยพบว่าโครงการที่เป็นหน่วยงานของราชการนั้นเกิดปัญหา อยู่ในระดับที่มากที่สุด และโครงการรัฐบาลอื่นๆเกิด ปัญหาเดียวกันในระดับน้อยถึงปานกลาง ทั้งนี้เนื่องจากเป็นงานที่มีการทำงานด้านงานระบบต่างๆ มากและซับซ้อนประกอบกับผู้รับเหมางานก่อสร้าง ในแต่ละด้านนั้นเป็นคนละบริษัทกัน ทำให้ขาดการประสานงานที่ดี ทั้งนี้ในการศึกษานี้ได้เสนอรายละเอียดของแนวทางโดยได้ใช้เกณฑ์เปรียบเทียบจาก เงื่อนไขของสัญญางานก่อสร้างด้วยระบบการวัดอาคารเขียวของสหรัฐอเมริกา Leadership in Energy and Environmental Design LEED หรือ ประเทศไทยใช้ชื่อโครงการอาคารเขียว (Green Building) มาเปรียบเทียบกับรูปแบบสัญญาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันในประเทศไทย เพื่อเป็นการเตรียม ความพร้อมก่อนเข้าสู่การก่อสร้างอาคารเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และผู้วิจัยยังได้เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขความไม่ชัดเจน ความไม่รัดกุม รวมถึง เพิ่มเติมสาระสำคัญที่จำเป็นบางประการเพื่อสนับสนุนให้กระบวนการก่อสร้างอาคารเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้มีความรัดกุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
    URI
    http://repository.rmutr.ac.th/123456789/190
    http://localhost:8080/xmlui/handle/123456789/190
    Collections
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7

    DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    Atmire NV
     

     

    Browse

    All of DSpaceCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjects

    My Account

    LoginRegister

    DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    Atmire NV