• Login
    View Item 
    •   DSpace Home
    • การประชุมวิชาการ
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7
    • View Item
    •   DSpace Home
    • การประชุมวิชาการ
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7
    • View Item
    JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

    การสำรวจศักยภาพพลังงานทดแทนของชุมชนบ้านร่องปลายนา ตำบลบัวสลี อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย

    Thumbnail
    View/Open
    TREC-7_P-EM15.pdf (591.7Kb)
    Date
    2557
    Author
    วิลาสินี ศรีสุวรรณ
    วุฒิชัย เสริฐผม
    ไกรพล ขันทะบุตร
    สิทธิชัย สะสาง
    Metadata
    Show full item record
    Abstract
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาสภาพการใช้พลังงานในปัจจุบัน สำรวจศักยภาพพลังงานทดแทนของชุมชน และเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการพลังงานทดแทนของชุมชนโดยใช้วิธีการสำรวจ สัมภาษณ์และสังเกต ผลการศึกษาพบว่าชุมชนบ้านร่องปลายนา มีมูลค่าการใช้ พลังงานจากน้ำมันมากสุด มีปริมาณการใช้ที่ 41,696 ลิตร/ปี มูลค่า 1,346,064 บาท/ปี รองลงมาเป็น การใช้พลังงานความร้อนจากก๊าซ LPG มีปริมาณการใช้ที่ 2,760 kg/ ปี มูลค่า 772,800บาท/ปี และการใช้พลังงานไฟฟ้า มีปริมาณการใช้ที่ 58,527 kWh/ปี มูลค่า 207,421 บาท/ปี ทางด้านศักยภาพพลังงานทดแทนพบว่า บริเวณทั่วไปของชุมชน มีค่าความเข้มแสงอาทิตย์เฉลี่ย 829 วัตต์ต่อตารางเมตร ค่าความเร็วลมเฉลี่ย 1.38 เมตร/วินาที และ มีค่าอัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำแม่มอญเฉลี่ย 7.95 ลบ.ม./วินาที และ น้ำในแม่น้ำร่องขี้นาเฉลี่ย 3.57 ลบ.ม./วินาที ทางด้านศักยภาพชีวมวล ขยะมูลฝอย และเชื้อเพลิงเหลือใช้จากการเกษตรชุมชนคือ มีซังข้าวมากที่สุด จำนวนประมาณ 1,702 kg/ ปีฟืน จำนวนประมาณ 1,399 kg/ปี ขยะมูลฝอย จำนวนประมาณ 1,010 kg/ ปีและ มูลสัตว์น้อยที่สุด จำนวนประมาณ 123 kg/ ปีชุมชนต้องมีการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเพื่อให้เกิด ความตระหนักในเรื่องการใช้พลังงานทดแทน ทำให้การจัดการพลังงานทดแทนของชุมชนเกิดขึ้นแบบการมีส่วนร่วมในการเลือก วางแผน และนำพลังงานทดแทนไปใช้ร่วมกันจาก ศักยภาพพลังงานทดแทนของชุมชน คือ พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานน้ำพลังงานความร้อนจากชีวมวล ขยะมูลฝอย และสิ่งที่เหลือใช้จากการเกษตร จะทำให้ชุมชนสามารถดำเนินงานด้านพลังงานทดแทนชุมชนได้อย่างยั่งยืนและชุมชนสามารถดำเนินงานให้สอดคล้องตามหลักของการเป็นหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงในระดับที่สูงขึ้นต่อไปได้
    URI
    http://repository.rmutr.ac.th/123456789/185
    http://localhost:8080/xmlui/handle/123456789/185
    Collections
    • การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7

    DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    Atmire NV
     

     

    Browse

    All of DSpaceCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjects

    My Account

    LoginRegister

    DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
    Contact Us | Send Feedback
    Theme by 
    Atmire NV