ความต้องการพลังงานทดแทนแก๊สหุงต้ม สำหรับครัวเรือนของชุมชน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
View/ Open
Date
2557Author
สำรวย มะลิถอด
ทิพวรรณ เปลี่ยนมอญ
เบ็ญจพร ประชุมรัตน์
เพชรดา ทิพย์ยอแล๊ะ
Metadata
Show full item recordAbstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเกี่ยวกับความต้องการพลังงานทดแทนแก๊สหุงต้มสำหรับครัวเรือนของชุมชน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยทำการรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยการสุ่มตัวอย่างจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ แพะ และสุกร จำนวน 400 ราย และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนแก๊สหุงต้มในครัวเรือนสู่ชุมชน
จากการสำรวจเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ พบว่าอำเภอบ้านแหลมมีเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์กระจายอยู่ทุกตำบล และจากการสัมภาษณ์เกษตรกรทั้ง 10 ตำบล ในอำเภอบ้านแหลม พบว่าเป็นเกษตรกรเพศชาย ร้อยละ 52.50 โดยส่วนมากมีอายุอยู่ระหว่าง 41-60 ปี ร้อยละ 49.50 รองลงมา
มีอายุระหว่าง 21-40 ปี ร้อยละ 24.30 และมีอายุเฉลี่ย 48 ปี ชนิดของสัตว์ที่เลี้ยงมากที่สุดคือโคเนื้อ มีจำนวนที่เลี้ยงน้อยกว่า 10 ตัว/บ้าน คิดเป็นร้อยละ 48.50 รองลงมามีจำนวน 11-20 ตัว/บ้าน โดยเฉลี่ยมีการเลี้ยงจำนวน 7 ตัว/บ้าน และชนิดสัตว์ที่เลี้ยงรองลงมาคือแพะเนื้อ มีจำนวนการเลี้ยงตั้งแต่1-5 ตัวมากที่สุดร้อยละ 62.16 ตัว/บ้าน จำนวนรองลงมาตั้งแต่ 11-15 ตัว/บ้าน และ 16-20 ตัว/บ้าน โดยเฉลี่ยมีการเลี้ยงจำนวน 8 ตัว/บ้าน
และจากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามพบว่ามีเกษตรกรผู้ที่สนใจและต้องการใช้แก๊สชีวภาพทดแทนแก๊สหุงต้มในระดับที่สนใจมาก ร้อยละ 1.80 และสนใจมากที่สุด ร้อยละ 0.80 จากผลการสำรวจเบื้องต้นผู้วิจัยจึงได้ทำการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนแก๊สหุงต้มในครัวเรือนให้แก่ผู้สนใจและมีความต้องการในระดับมากจากแบบสอบถาม เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายและส่งเสริมการดำเนินชีวิตด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยนำมูลโคเนื้อ แพะเนื้อ และสุกรที่มีการเลี้ยงมาใช้เป็นวัตถุดิบในการหมักเพื่อให้เกิดแก๊สมีเทนสำหรับการผลิตแก๊สชีวภาพและใช้ทดแทนแก๊สหุงต้มจากอุตสาหกรรม จำนวน 1 ราย และอีก 1 รายเป็นการใช้เพื่อประกอบอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน