Show simple item record

dc.contributor.authorรวิภา ยงประยูรen_US
dc.contributor.authorธานินทร์ คูพูลทรัพย์en_US
dc.date.accessioned2016-07-16T08:18:35Z
dc.date.available2016-07-16T08:18:35Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://repository.rmutr.ac.th/123456789/176
dc.identifier.urihttp://localhost:8080/xmlui/handle/123456789/176
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้เกิดจากทำงานภายใต้การลงนามความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางกับเทศบาลตำบลหลวงใต้ อำเภองาว จังหวัดลำปาง ในการนำเอาองค์ความรู้เชิงวิชาการไปใช้ในการแก้ปัญหากับชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะตรวจสอบศักยภาพและค้นหาแนวทางการแปรรูปวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดแล้วในเขตตำบลหลวงใต้ เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนด้วยวิธีการที่เหมาะสมผ่านการบูรณาการความรู้ร่วมกันระหว่างนักวิชาการ(เทคโนโลยี)และชาวบ้าน(ภูมิปัญญา) จากการลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มเพาะเห็ด ต.หลวงใต้ อ.งาว จ.ลำปาง ซึ่งเกิดจากการจัดสรรงบประมาณ ภายใต้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีของจังหวัดลำปาง ในปีงบประมาณ 2555 โดยมีลักษณะของการเพาะเห็ดนางฟ้าตามพื้นที่ของครัวเรือนกระจายอยู่ทั้ง 8 หมู่บ้านเฉลี่ยครัวเรือนละ 2 โรงเรือน ปริมาณเศษวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดนางฟ้าแล้วที่ต้องหาทางกำจัดมีค่าโดยเฉลี่ยเท่ากับ 1,000 ก้อน ต่อครัวเรือน หรือคิดเป็นปริมาณเท่ากับ 500 กิโลกรัมต่อครัวเรือน หากมองในภาพรวมของตำบลหลวงใต้ปริมาณเศษวัสดุจากการเพาะเห็ดนางฟ้าจะมีค่าโดยเฉลี่ยเท่ากับ 7.5 ตัน เมื่อนำเศษวัสดุดังกล่าวไปทดสอบคุณสมบัติการเป็นเชื้อเพลิงแข็งพบว่า ค่าความร้อน 3,830 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม ค่าสารระเหยร้อยละ 8.55 ค่าเถ้าร้อยละ 7.92 และค่าถ่านคงตัวร้อยละ 11.90 ทั้งนี้เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่เพื่อคืนข้อมูลให้กับชุมชนมาจับประเด็นให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มผู้เพาะเห็ดจึงจะได้หัวข้อการดำเนินกิจกรรมดังนี้ การทำถ่านอัดแท่งจากก้อนวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดแล้ว 40 เปอร์เซ็นต์ การแยกถุงพลาสติกจากก้อนวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดแล้ว เพื่อเข้าสู่ระบบการบริหารจัดการของธนาคารขยะ 40 เปอร์เซ็นต์ และ การทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกองที่ใช้ก้อนวัสดุจากการเพาะเห็ดแล้วเป็นวัตถุดิบหลัก 20 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณเศษก้อนวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดแล้ว ที่กำจัดกันอยู่ใน 8 หมู่บ้านของตำบลหลวงใต้ อำเภองาว จังหวัดลำปาง มีปริมาณที่ยังสามารถจัดการเองได้ภายในครัวเรือนในลักษณะของการเผาและขนไปทิ้งตามพื้นที่ทำนาและพื้นที่ทำสวน แต่ด้วยราคาของเห็ดที่เพาะกันอยู่นนั้ มีราคาสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้เกิดการขยายกำลังการผลิตต่อครัวเรือนในอนาคต ดังนั้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในการจัดการกับสิ่งที่จะกลายเป็นปัญหาในอนาคตจากกิจกรรมเชิงอุตสาหกรรมทางการเกษตร จำต้องเปิดมุมมองกลุ่มเพาะเห็ดให้ตื่นตัวกับสิ่งที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคตen_US
dc.language.isoTHen_US
dc.publisherศูนย์วิจัยและพัฒนาพลังงานสู่ชุมชน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ,สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางen_US
dc.subjectวัสดุเหลือใช้en_US
dc.subjectการเพาะเห็ดen_US
dc.subjectพลังงานทดแทนen_US
dc.subjectการแปรรูปen_US
dc.titleA Mushroom Pieces Used Conversion as a Renewable Energy Sources Appearance in Luangtai Sub- District,Ngao District, Lampang Provinceen_US
dc.title.alternativeรูปแบบการแปรรูปวัสดุที่เหลือใช้จากการเพาะเห็ดเพื่อผลิตพลังงานทดแทน ตำบลหลวงใต้ อำเภองาว จังหวัดลำปางen_US
dc.typeResearchen_US


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record