Chestnut Shell Gasified by Gasification
View/ Open
Date
2014-11Author
จีรัฐติกุล กล้าหาญ
อาทิตย์ คงใจดี
รนชัย กัญญานก
Metadata
Show full item recordAbstract
งานวิจัยเรื่อง การผลิตแก๊สชีวมวลจากเปลือกกระจับโดยแก๊สซิฟิเคชั่นนี้ผู้ศึกษาได้พบปัญหาในเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิงเริ่มมีน้อยลงส่งผลกระทบทำ ให้มีราคาสูงขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาแหล่งพลังงานทดแทน ซึ่งพลังงานทดแทนที่หาได้ง่ายกคือพลังงานชีวมวล ผู้ศึกษาได้พบพืชชนิดหนึ่งคือกระจับมี จำนวนมากในเขตพื้นที่ ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อชาวบ้านนำเนื้อกระจับไปขายจะเหลือเปลือกเป็นขยะจำนวนมาก จึง นำมาศึกษาหาแก๊สชีวมวลจากเปลือกกระจับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดแก๊สชีวมวลจากเปลือกกระจับ ปริมาณแก๊สมีเทนและประสิทธิภาพ ของแก๊สชีวมวลโดยใช้เตาเผาแก๊สซิไฟเออร์แบบเปลวไฟไหลลง จากผลการทดลองโดยการป้อนเชื้อเพลิงเปลือกกระจับ5 กิโลกรัมต่อครั้ง สามารถให้ เชื้อเพลิงชีวมวลออกมาและนำแก๊สชีวมวลที่ออกมานำไปตรวจหาปริมาณแก๊สมีเทนได้ 6.8 % จากทดลองโดยปรับความเร็วอากาศที่ป้อนเข้าสู่ห้อง เผาไหม้ของเตาเผาแก๊สซิไฟเออร์3 ระดับ คือ 2, 3 และ 4 เมตร/วินาทีพบว่าการปรับความเร็วอากาศที่ 3 เมตร/วินาทีให้ผลในการผลิตแก๊สชีวมวลได้ ดีที่สุด และเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเกิดแก๊สมีเทนของเปลือกกระจับ แกลบ และถ่านไม้ ปรากฏว่าเปลือกกระจับให้ปริมาณแก๊สมีเทนมากที่สุด คือ 6.8 %, 5.5 % และ 1.5 % ตามลำดับ โดยทดลองจากการป้อนปริมาณเท่ากันอยู่ที่ 5 กิโลกรัมต่อครั้ง