การประเมินวัฎจักรชีวิตของ เชื้อเพลิง RDF-5 ที่มีส่วนประกอบของขยะที่ผ่านกระบวนการบำบัดเชิงกลชีวภาพและกากตะกอนน้ำมันดิบ
View/ Open
Date
2014-11Author
สมชาย มณีวรรณ์
ฉันทนา พันธุ์เหล็ก
วีระ พันอินทร์
Metadata
Show full item recordAbstract
บทความฉบับนี้ศึกษาการประเมินวัฏจักรชีวิตของเชื้อเพลิง RDF-5 ที่มีส่วนประกอบของขยะที่ผ่านกระบวนการบำบัดเชิงกลชีวภาพ (MBWT)และกากตะกอนน้ำมันดิบโดยเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิง RDF-5 ที่มีส่วนประกอบของขยะชุมชน (MSW) และกากตะกอนน้ำมันดิบงานวิจัย ดังกล่าวใช้ขยะที่ผ่านกระบวนการบำบัดด้วยวิธีเชิงกลชีวภาพ (MBT) ระยะเวลา 5 เดือน ทำการศึกษาที่อัตราส่วนของกากตะกอนน้ำมันดิบต่อขยะ MBT/MSWที่อัตราส่วน 5:95, 10:90, 15:85, 20:80 และ 25:75 จากผลการวิเคราะห์เชื้อเพลิง RDF-5 ที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำมันดิบร่วมกับขยะ ชุมชน และขยะบำบัดเชิงกลชีวภาพในอัตราส่วน 20:80 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิต เมื่อเปรียบเทียบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของเชื้อเพลิง จากที่ผลิตจากขยะชุมชนมีผลกระทบสูงกว่าเชื้อเพลิงที่ผลิตจากขยะบำบัดเชิงกลชีวภาพ ที่อัตราส่วน 20:80 เท่ากัน โดยจากการประเมินวัฏจักรชีวิต ในกรณีของเชื้อเพลิง RDF-5 จากขยะเชิงกลชีวภาพร่วมกับกากตะกอนน้ำมันดิบ (CBT4) พบว่าประเภทของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นสูงสุด คือ Heavy metals มีค่าเท่ากับ 3,483.44 Pt รองลงมาคือ Acidification มีค่าเท่ากับ 751.57 Pt, Winter smog มีค่าเท่ากับ 347.30 Pt และ Greenhouse มีค่าเท่ากับ 260.41 Pt ตามลำดับ