Study of Biomass Energy Potential in Lampang
Abstract
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชีวมวลในจังหวัดลำปาง เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในอุตาสาห-กรรมเซรามิกโดยใช้วิธีการสำรวจเชิงพื้นที่และใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ เช่น สำนักงานจังหวัดลำปาง สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยจังหวัดลำปาง กลุ่มชีวมวลที่ทำการศึกษาได้แก่ เศษจากอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และไม้แปรรูป เศษขี้เลื่อยจากการเพาะเห็ด เศษจากการเพาะปลูกข้าวโพดหญ้าเลี้ยงช้าง และเศษจากงานหัตถกรรมจากไม้ โดยทำการศึกษาในบริเวณจังหวัดลำปาง ในรัศมีระยะทาง 50 กิโลเมตรจากอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง การศึกษานี้ใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการประเมินความเป็นไปได้ในการนำชีวมวลมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในกระบวนการเผาเซรามิก ผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพพลังงานชีวมวลต่อปีของ ขี้เลื่อยและเศษไม้จากอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และไม้แปรรูป มีค่าเท่ากับ 66,126.0 GJ หรือ 1,565.3 toe เศษขี้เลื่อยจากการเพาะเห็ดของกลุ่มเพาะเห็ด มีค่าเท่ากับ 9,535.2 GJ หรือ 225.7 toe ซังข้าวโพดและลำต้น (ต้น ยอด ใบ) มีค่าเท่ากับ 404,456.3 GJ หรือ 9,574.3 toe หญ้าเลี้ยงช้าง (หญ้าบาน่า) มีค่าเท่ากับ 41,292.0 GJ หรือ 977.5 toe และขี้เลื่อยและเศษไม้จากงานหัตถกรรมจากไม้ มีค่าเท่ากับ 1,833.3 GJ หรือ 43.4 toe รวมศักยภาพพลังงานชีวมวลทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 523,242.8 GJ หรือ 12,386.2 toe