Show simple item record

dc.contributor.authorWararat Watthanachanobonen_US
dc.contributor.authorPornpimol Sakdaen_US
dc.contributor.authorPranorm Pengtowongen_US
dc.date.accessioned2016-12-26T04:23:09Z
dc.date.available2016-12-26T04:23:09Z
dc.date.issued2015
dc.identifier.urihttp://repository.rmutr.ac.th/123456789/369
dc.identifier.urihttp://localhost:8080/xmlui/handle/123456789/369
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นการศึกษาบริบทชุมชน รูปแบบและกระบวนการทอผ้าพื้นบ้านตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ของกลุ่มอาชีพเสริมบ้านสุขเกษม โดยกระบวนการจัดการความรู้ และรวบรวมและจัดทำหนังสือรูปแบบและกระบวนการทอผ้าพื้นบ้าน ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ของกลุ่มอาชีพเสริมบ้านสุขเกษม พบว่า ที่มาของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ศึกษานั้น มาจากความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เกี่ยวกับพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับวิถีธรรมชาติ และความรู้ใหม่ที่รับการส่งเสริมและพัฒนาโดยหน่วยงานภาครัฐจากภายนอก การศึกษาดูงาน การรวมกลุ่ม การส่งวิทยากรเข้ามาสอน ความรู้ที่สำคัญสำหรับการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ความรู้ที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษและนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับยุคสมัยซึ่งการปรับปรุงนั้นอยู่ภายใต้การฝึกฝนและการปฏิบัติด้วยตนเอง โดยเน้นรูปแบบดั้งเดิมให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ลักษณะของการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ 2 ลักษณะ คือ 1) การถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมในอดีต ได้แก่ การบอกเล่าต่อกันมา การฝึกปฏิบัติจากการสังเกต และการปฏิบัติจากการฝึกฝนของบรรพบุรุษ โดยเป้าหมายหลักในการถ่ายทอดคือทายาทหรือคนในครอบครัว และ 2) การถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้มีการพัฒนามาแล้วในปัจจุบัน ได้แก่ การปฏิบัติจากการฝึกฝนของกลุ่มแม่บ้าน (ถ่ายทอดในกลุ่ม) และการไปเป็นวิทยากรรับเชิญไปสาธิตวิธีการผลิต กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าพื้นบ้าน มี 5 ขั้นตอนหลักที่สำคัญได้แก่ 1.การกำหนดความรู้ เกิดจากความต้องการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการผลักดันของผู้นำกลุ่มที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง 2.การแสวงหาและยึดกุมความรู้ภายใน ได้แก่ การสอบถามผู้รู้ในชุมชน และการดูตัวอย่างผลิตภัณฑ์กลุ่มอื่น ๆ แล้วทดลองเรียนรู้ ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จากภายนอก ได้แก่ การศึกษาดูงาน การอบรม/สัมมนา 3.การแลกเปลี่ยนความรู้อย่างไม่เป็นทางการ ได้แก่ การพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน 4.การจัดเก็บความรู้ มุ่งเน้นการจัดเก็บความรู้ไว้ที่ตัวบุคคล 5.การถ่ายทอดความรู้ จากบุคคลสู่บุคคลเป็นหลัก เช่น ปฏิบัติให้ดู การสาธิตen_US
dc.description.sponsorshipRajamangala University Of Technology Rattanakosinen_US
dc.language.isoTHen_US
dc.publisherRajamangala University Of Technology Rattanakosinen_US
dc.subjectKnowledge Managementen_US
dc.subjectIndigenous Cloth Weavingen_US
dc.subjectBan Suk-kasemen_US
dc.titleKnowledge Management of Ban Suk-kasem Indigenous Cloth Weaving Group Banglen District Nakhon Pathom Provinceen_US
dc.title.alternativeการจัดการความรู้การทอผ้าพื้นบ้านของกลุ่มอาชีพเสริมบ้านสุขเกษม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมen_US
dc.typeResearchen_US


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record