ปัจจัยที่มีผลต่อการให้บริการวิชาการของศูนย์บริการวิชาการ แบบจัดหารายได้
View/ Open
Date
2014Author
จิตรานุช น้อยสุทธิสกุล
นเรศ สิงห์ครามเขต
ว่าที่ร้อยตรี จารุวัตร์ จิตตเสถียร
Metadata
Show full item recordAbstract
การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการให้บริการวิชาการของศูนย์บริการวิชาการแบบจัดหา
รายได้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประการแรกเพื่อศึกษาพฤติกรรมในการเข้ารับบริการวิชาการแบบ
จัดหารายได้ประเภทฝึกอบรม ของศูนย์พัฒนาและบริการวิชาการสู่สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลรัตนโกสินทร์ ประการที่สองเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้ารับบริการวิชาการแบบจัดหา
รายได้ประเภทฝึกอบรม ของศูนย์พัฒนาและบริการวิชาการสู่สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
รัตนโกสินทร์ และประการที่สามเพื่อศึกษาการตัดสินใจในการเข้ารับบริการวิชาการแบบจัดหารายได้
ประเภทฝึกอบรม ของศูนย์พัฒนาและบริการวิชาการสู่สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
รัตนโกสินทร์ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 396 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบแบบ
สมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความแตกต่างด้วยค่าที(t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
(One way analysis of variance : One Way ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอย (Regression
Analysis) โดยใช้โปรแกรม SPSS/PC for windows version 12 ผลการวิจัยพบว่า
คุณลักษณะประชากรของกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง การศึกษาอยู่ที่ระดับ
ปริญญาตรี อายุระหว่าง 21 – 30 ปี มีอาชีพรับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และลูกจ้าง รายได้
เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10,001 – 20,000 บาท และส่วนใหญ่ทางานอยู่ตาบลศาลายา อาเภอพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม
พฤติกรรมการเข้ารับบริการวิชาการประเภทฝึกอบรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่
เคยเข้ารับบริการ เนื่องจากหลักสูตรที่มีความหลากหลาย และค่าลงทะเบียน ทั้งนี้ระยะเวลาที่
เหมาะสมต่อการให้บริการ คือ ช่วงเดือนตุลาคม ถึง เดือนธันวาคม โดยเลือกฝึกอบรมในวันจันทร์ ถึง
วันศุกร์ เวลา 9.00น. – 16.00 น โดยมีเหตุผลเพื่อนาความรู้ไปพัฒนาตนเอง ฝึกทักษะด้านภาษา ได้
ทั้งด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติตลอดหลักสูตร และประสงค์ให้ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ต่อการเข้ารับบริการวิชาการแบบจัดหารายได้ประเภท
ฝึกอบรมตามแนวคิด 7P’s โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด
อยู่ในระดับมาก ในด้านหลักสูตร ด้านผู้เข้ารับการฝึกอบรม/สัมมนา/ประชุม ด้านราคา/ค่าใช้จ่าย
ด้านวิทยากรและเจ้าหน้าที่ ด้านสิ่งอานวยความสะดวก ด้านส่งเสริมการตลาด
การตัดสินใจเข้ารับบริการวิชาการแบบจัดหารายได้ประเภทฝึกอบรม พบว่า กลุ่มตัวอย่าง
ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการอยู่ในระดับมาก เหตุผลของการตัดสินใจเข้ารับ
บริการวิชาการในแต่ละด้านมีดังนี้ ด้านหลักสูตร ได้แก่ เนื้อหาหลักสูตรตรงกับความต้องการของผู้
เข้ารับการอบรม ด้านวิทยากรและเจ้าหน้าที่ ได้แก่ ความรู้ความสามารถของวิทยากรกับความเต็มใจ
ในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ด้านสถานที่ ได้แก่ ความเหมาะสมของสถานที่ฝึกอบรม และด้าน
ส่งเสริมการตลาด คือ สิทธิพิเศษจากการเข้าร่วมการฝึกอบรมในครั้งต่อไป