Show simple item record

dc.contributor.authorNantaporn likitpiboonsilen_US
dc.date.accessioned2019-01-10T10:03:01Z
dc.date.available2019-01-10T10:03:01Z
dc.date.issued2015
dc.identifier.urihttp://repository.rmutr.ac.th/123456789/1038
dc.identifier.urihttp://localhost:8080/xmlui/handle/123456789/1038
dc.description.abstractการจัดการความรู้ทางบัญชีเพื่อการพัฒนาเกษตรกรผู้ผลิตมะนาวในอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุน กระบวนการผลิต ผลตอบแทนการผลิตมะนาว และการจัดการความรู้ทางบัญชีเพื่อการพัฒนาเกษตรกรผู้ผลิตมะนาว ในอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ในการศึกษาครั้งนี้ได้เก็บข้อมูลจากการออกแบบสอบถาม และจากการสัมภาษณ์เกษตรกรที่ผลิตมะนาว ตำบลหนองบัว ตำบลบ้านแพ้ว ตำบลหนองสองห้อง ตำบลยกกระบัตรและตำบลเกษตรพัฒนา จำนวนรวม 53 ราย จำแนกตามการผลิตแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ ผลิตมะนาวในฤดูกาลอย่างเดียว ผลิตมะนาวทั้งในฤดูกาลและนอกฤดูกาล และผลิตมะนาวนอกฤดูกาลอย่างเดียว โดยกำหนดอายุโครงการ 10 ปี และประเมินผลตอบแทนด้วยอัตราขั้นต่ำร้อยละ 7 ต่อปีโดยอ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาวของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยวิธีระยะเวลาคืนทุน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนและอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน ผลการศึกษาพบว่าจากการจำแนกต้นทุนตามพฤติกรรมของต้นทุน เกษตรกรผู้ผลิตมะนาว เกษตรกรกลุ่มที่ 1 ผลิตมะนาวในฤดูกาลอย่างเดียว มีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 5 ปี 9.78 เดือน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิกรณีอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ร้อยละ 7 เท่ากับ 10,918.10 บาทและมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับร้อยละ 19 มีอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนเท่ากับ 1.31 เกษตรกรกลุ่มที่ 2 ผลิตมะนาวทั้งในกาลและนอกฤดูกาลมีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 4 ปี 10.12 เดือนมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิกรณีอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่กำหนดร้อยละ 7 เท่ากับ 28,319.29 บาทและ มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับร้อยละ 32 มีอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนเท่ากับ 1.90 และเกษตรกรกลุ่มที่ 3 ผลิตมะนาวนอกฤดูกาลอย่างเดียวมีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 4 ปี 7.25 เดือน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิที่อัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่กำหนดร้อยละ 7 เท่ากับ 39,439.15 บาทและมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับร้อยละ 35 มีอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนเท่ากับ 2.07 เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนระหว่างการผลิตมะนาวทั้ง 3 กลุ่มแล้วพบว่า เกษตรกรที่ผลิตมะนาวนอกฤดูกาลอย่างเดียวจะมีระยะเวลาคืนทุนได้เร็วที่สุดและมีมูลค่าปัจจุบันเป็นบวกทั้งกรณีที่อัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่กำหนดเท่ากับร้อยละ 7 มากที่สุด มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนและมีอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนสูงที่สุดเช่นกัน นำการบัญชีมาบันทึกบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายมะนาว เพื่อให้เกษตรกรได้มีความรู้ ความเข้าใจและมีการจดบันทึกบัญชีอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกษตรกรมีวินัยทางการเงิน รู้จักวิธีบริหารการเงินและใช้ข้อมูลทางบัญชีเป็นแนวทางในการวางแผนและตัดสินใจen_US
dc.language.isoTHen_US
dc.publisherRajamangala University Of Technology Rattanakosinen_US
dc.subjectlimeen_US
dc.subjectAccountingen_US
dc.subjectSamut Sakhonen_US
dc.titleAccounting Knowledge Management for Developing Farmer Producing lime at Banphaeo, Samut Sakhonen_US
dc.title.alternativeการจัดการความรู้ทางบัญชีเพื่อการพัฒนาเกษตรกรผู้ผลิตมะนาวในอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครen_US
dc.typeResearchen_US


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record